ออกกำลังกายในภาวะอากาศร้อนอย่างไรให้ปลอดภัย
การออกกำลังกายภายใต้อากาศร้อนเป็นการเพิ่มภาระให้กับหัวใจและปอด จะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเพื่อเป็นการระบายความร้อนเลือดที่ไหลเวียนสู่ผิวหนังจะมากขึ้น เลือดที่ไหลเข้าสู่กล้ามเนื้อจะน้อยลง เป็นการเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ จึงมีหลายเรื่องที่ควรระวัง
ค่อยเป็นค่อยไป : เริ่มต้นออกกำลังกายควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิของอากาศแล้ว จึงเพิ่มเวลาและระดับความหนักของการออกกำลังกาย
ดื่มน้ำให้มาก : แม้ว่าขณะออกกำลังกายจะไม่รู้สึกกระหายน้ำ ก็ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงควรดื่มน้ำให้ได้ 100-150 มิลลิลิตร ทุก 30 นาทีให้ดื่มน้ำ 100-150 มิลลิลิตร และหลังออกกำลังกาย ให้ดื่มน้ำอีก 100-150 มิลลิลิตร
สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสม : เสื้อผ้าที่มีลักษณะเบาบางและหลวม มีส่วนช่วยในการระเหยของเหงื่อและระบายอากาศ ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเข้มซึ่งจะดูดซับพลังงานความร้อน การสวมหมวกสีอ่อนสามารถลดความร้อนจากแสงแดดได้
หลีกเลี่ยงแดดจัด : การออกกำลังกายในช่วงเช้าตรู่หรือช่วงเย็น ในช่วงนี้อากาศกลางแจ้งเย็นสบายสำหรับช่วงเวลาอื่น หากโอกาสอำนวยก็สามารถไปออกกำลังกายในที่ร่มหรือว่ายน้ำในสระ
อยู่ในห้อง : หากกังวลในเรื่องอุณหภูมิและความชื้น สามารถออกกำลังกายในห้องออกกำลังกายเดินเล่นที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือเดินขึ้นบันไดในอาคารที่ติดเครื่องปรับอากาศ
ข้อห้ามหลังการออกกำลังกาย : ห้ามอาบน้ำทันที ห้ามดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ (ของที่แช่เย็น) ห้ามพักในท่านั่งยองๆ ห้ามรับประทานอาหารทันทีและไม่ควรรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดหลังการออกกำลังกาย
และอย่าลืมดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับเหงื่อเมื่อออกกำลังกาย เพื่อรักษาสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายและยังป้องกันการเป็นตะคริวได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก thaihealth.or.th
กิจกรรม/ข่าวสาร/บทความ
- ข่าวสาร (4)
- งานอีเว้นท์ (3)
- บริจาค/จิตอาสา (1)
- รู้ทันสุขภาพ (11)