ขาดเกลือแร่ทำให้เป็นตะคริวได้

ขาดเกลือแร่ทำให้เป็นตะคริวได้

คุณรู้ไหมการขาดเกลือแร่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นตะคริว

ปกติเกลือแร่เป็นสิ่งที่เราได้รับเป็นประจำทุกๆวัน จากอาหาร น้ำอัดลมบางยี่ห้อ น้ำผลไม้ ซึ่งปกติแล้วไม่เคยขาด  การที่เราจะตุนเกลือแร่แบบตุนน้ำล่วงหน้านั้น เป็นเรื่องที่ เปล่าประโยชน์ เพราะว่า เราไม่ได้ขาดมัน เมื่อได้เข้าไปเกินปริมาณ ไตก็จะขับมันทิ้งไปแบบไร้เยื่อใย เปลืองเงินโดยใช่เหตุ ไม่มีการสะสมเอาไว้มากมายในคนปกติ

แล้วเราจะขาดมันเมื่อไร 

เราจะเริ่มสูญเสียเกลือแร่ไปกับพร้อมๆกับการเสียเหงื่อ การขับเหงื่อและการระเหยของเหงื่อเป็นกระบวนการสำคัญในการช่วยลดความร้อนที่ เกิดขึ้นภายในร่างกาย  ในวันที่อากาศร้อนจัด หรือในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายจะเพิ่มปริมาณการขับเหงื่อมากขึ้น ซึ่งเราอาจจะเสียเหงื่อได้มากกว่า 2 ลิตรภายในเวลา 1ชม.  ส่วนประกอบหลักๆของ เหงื่อ คือ น้ำ และเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
การเสียเหงื่อติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการขาดน้ำและเกลือโซเดียมคลอไรด์ อันเป็นที่มาของตะคริว จึง มีความจำเป็นที่จะต้องมีการทดแทนส่วนที่เสียไป เกลือโซเดียมมีความสำคัญอย่างมากต่อการส่งสัญญาณประสาทของเส้นประสาท รวมไปถึงการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ  และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับศักดาไฟฟ้าระหว่างภาย ในและภายนอกเซลล์หรือ membrane potential  เกลือโซเดียมในเหงื่อมีค่าความเข้มข้นประมาณ 40-50 mEq/L    (ประมาณ 1 ใน 3 ของ เลือด ในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีปริมาณโซเดียมในเหงื่อลดลงไปกว่านี้) ซึ่งจะมีความเข้มข้นใกล้เคียงกับน้ำดื่มผสมเกลือแร่

แล้วเราจะดื่มทดแทนดีไหม ?

ดีแน่นอนครับ เมื่อเราสูญเสียเราก็ต้องทดแทน

แล้วเราจะทดแทนเมื่อไหร่ ?

อันนี้เป็นคำถามที่น่าตอบ  ข้อมูลทางกีฬาเวชศาสตร์ แนะนำว่า ควรจะเริ่มดื่มน้ำผสมเกลือแร่เมื่อออกกำลังกายไปแล้ว 1 ชม.  แต่ไม่ได้หมายความว่าในชั่วโมงแรกจะห้ามดื่ม เพียงแต่ไม่ได้ประโยชน์สูงสุดเท่านั้น ในชั่วโมงแรกนั้นน้ำเปล่าจะดีที่สุด พอเริ่มชั่วโมงที่ 2 จึงเริ่มดื่มน้ำผสมเกลือแร่สลับกับน้ำเปล่า ข้อดีของน้ำผสมเกลือแร่ คือมีกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของร่าง กาย นอกจากนี้กลูโคสและเกลือโซเดียมยังจะช่วยเพิ่ม การดูดซึมน้ำของทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายได้รับน้ำเร็วขึ้นกว่าเดิม

ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังแทนได้ไหม? 

ไม่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเพราะจะเร่งกระบวนการขับปัสสาวะ ทำให้เสียน้ำไปโดยไม่จำเป็น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.bikeloves.com

Posted in รู้ทันสุขภาพ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *